เตือน 23 – 30 พ.ค. เฝ้าระวังเป็นพิเศษ มรสุมกำลังแรงขึ้น เช็กพิกัดฝนหนัก

“พยากรณ์อากาศ 15 วัน” กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน 23 – 30 พ.ค. เฝ้าระวังเป็นพิเศษ มรสุมมีกำลังแรงขึ้น เช็กพิกัดฝนตกหนัก

“พยากรณ์อากาศวันนี้” วันที่ 19 พ.ค. 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 19 พ.ค.- 2 มิ.ย. 2568  จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย

เตือน 23 - 30 พ.ค. เฝ้าระวังเป็นพิเศษ มรสุมกำลังแรงขึ้น เช็กพิกัดฝนหนัก

เตือน 23 – 30 พ.ค. เฝ้าระวังเป็นพิเศษ มรสุมกำลังแรงขึ้น เช็กพิกัดฝนหนัก

ช่วง 19 -22 พ.ค. 2568 เช้าๆ ถึงเที่ยง พอมีแดดบ้าง บ่ายๆ ถึงค่ำ ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และมีตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะตอนบนของภาคเหนือ ภาคอีสานและด้านรับมรสุมตะวันเฉียงใต้ (ลมฝน) ซึ่งยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ส่วนประเทศไทยตอนบนยังมีลมฝ่ายใต้ ตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมในด้านทะเลอันดามัน

ต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสมโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ (ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย) ภาคอีสาน (จ.อุดรธานี เลย หนองบัวลำภู) ภาคกลาง (กาญจนบุรี ราชบุรี) ภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ด้านรับลม) อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ระวังน้ำท่วมขังในพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก มีข้อจำกัดในการระบายน้ำ เดินทางสัญจรต้องระวังฝนตกถนนลื่น ออกนอกบ้าน ต้องพกร่มและเสื้อกันฝน

ช่วง 23 – 30 พ.ค. 2568 เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ประเทศไทยจะมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีตกหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน) ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน เนื่องจากมรสุมมีกำลังแรงขึ้น ประกอบมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมทะเลอันดามัน (จะแรงขึ้นถึงระดับไซโคลนหรือไม่ยังต้องติดตาม) ระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ของ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก  

และ 31 พ.ค.- 2 มิ.ย. 2568 บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และด้านรับมรสุม ยังมีฝนตกต่อเนื่องประเทศไทยตอนบน ยังเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ)