5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

 

5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

 

5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

 

เตือน 5 เครื่องดื่ม อันตราย คนไทย ดื่มเกือบทุกคน เร่ง ตับ ไต วาย ตายไว!

“5 เครื่องดื่มยอดฮิตของคนไทย ที่ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว” (หมอโอ๊คไม่ได้จะห้าม… แต่ขอให้เพื่อนๆ เข้าใจ แล้วค่อยๆ ปรับไปด้วยกันนะครับ)

ปัญหา : หลายคนระวังอาหารมัน อาหารทอด… แต่ลืมไปว่า “เครื่องดื่มหวานๆ ที่กินทุกวัน” คือตัวทำลายตับ ไต และตับอ่อนแบบเงียบๆ คนที่เจอค่า GGT, ALT หรือ Creatinine สูง ส่วนหนึ่งมาจากน้ำที่ดื่มทุกวันนี่แหละครับ

ผลกระทบ : เครื่องดื่มที่คิดว่า “สดชื่น หอมหวาน แค่แก้วเดียวคงไม่เป็นไร” กลายเป็นบ่อเกิดของ น้ำตาลฟรุกโตสสูง / ไขมันพอกตับ / อินซูลินพุ่ง / ไตกรองสารพัง
และยิ่งดื่มต่อเนื่องทุกวัน โดยไม่รู้เลยว่า… ตับกับไตเรากำลังทำงานหนักมาก

มาดูกันครับว่า 5 เครื่องดื่มยอดฮิตของคนไทยที่ควร “ลด–ปรับ–เปลี่ยน” มีอะไรบ้าง พร้อมงานวิจัยสนับสนุนว่าทำไมถึงต้องระวัง และหมอโอ๊คมีทางออกให้แน่นอนครับ

5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว5 เครื่องดื่มอันตราย หมอเตือน ทำร้ายตับ-พังไตเงียบๆ แบบไม่รู้ตัว

 

1. แอลกอฮอล์ : ทำร้ายทั้งตับ ไต และระบบล้างพิษของร่างกาย ดื่มแล้วสบายใจ แต่ตับต้องทำงานล้างพิษหนักที่สุด แอลกอฮอล์เปลี่ยนเป็น Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารพิษที่ทำลายเซลล์ตับโดยตรง ถ้าดื่มบ่อย GGT จะขึ้น และเกิดไขมันพอกตับแม้ไม่อ้วนก็ได้
งานวิจัย :  Lieber, C.S. (2004). Alcohol and the liver: metabolism of alcohol and its role in liver injury. Hepatology

สรุป : การดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ

2. กาแฟ 3-in-1: น้ำตาลสูง + ไขมันทรานส์แบบไม่รู้ตัว

ซองเดียวอาจดูไม่เยอะ… แต่มี น้ำตาล 12–18 กรัม + ครีมเทียม (ไขมันทรานส์) ทำให้ อินซูลินพุ่ง น้ำตาลสะสมเปลี่ยนเป็นไขมันพอกตับ ครีมเทียมยังมีผลต่อไตด้วย เพราะต้องขับของเสียทางปัสสาวะ

งานวิจัย : Sun Q. et al. (2007). Consumption of trans fat and risk of type 2 diabetes. New England Journal of Medicine

สรุป : ไขมันทรานส์เพิ่มภาวะดื้อต่ออินซูลิน และสัมพันธ์กับ NAFLD (ตับมัน)

3. ชานมไข่มุก: น้ำตาล + ครีมเทียม + สีผสมอาหาร = ภาระตับเต็มขั้น 1 แก้วมีน้ำตาลเฉลี่ย 40–50 กรัม (เท่ากับข้าว 2–3 จาน)
ไข่มุก = คาร์โบไฮเดรตล้วน ย่อยไว น้ำตาลพุ่ง ไขมันเกาะตับ นอกจากนี้ สี กลิ่น ครีมเทียม ยังต้องใช้ตับ-ไตล้างออกหมด

งานวิจัย : Abdelmalek M.F. et al. (2010). Sugar-sweetened beverages and fatty liver disease. Hepatology

สรุป : การบริโภคน้ำหวานสูงเกี่ยวข้องกับไขมันพอกตับ โดยไม่ต้องมีน้ำหนักเกินก็เป็นได้

4. น้ำเชื่อม/ไซรัป/นมข้นในทุกเครื่องดื่มหวาน รวมถึงกาแฟเย็น ชาเย็น นมชมพู นมหวานๆ นมชอกโกแลต ที่ขายทั่วไปจะใช้น้ำเชื่อม หรือ มีอีกชื่อว่า ไซรัป
ไซรัปส่วนใหญ่ทำจาก ฟรุกโตสเข้มข้น (HFCS) ซึ่งตับเป็นอวัยวะเดียวที่เผาผลาญได้ ถ้าเกินความสามารถ = สะสมเป็นไขมัน ตับอักเสบ

งานวิจัย : Stanhope K.L. et al. (2009). Consuming fructose-sweetened beverages increases visceral adiposity and liver lipids. Journal of Clinical Investigation
สรุป: น้ำเชื่อมฟรุกโตสเพิ่มไขมันในตับอย่างมีนัยสำคัญ แม้ไม่ได้ทำให้น้ำหนักเพิ่ม

5. นมเปรี้ยว (ที่ใส่น้ำตาล) แม้ชื่อจะดูสุขภาพดี แต่จริงๆ แล้ว นมเปรี้ยวแบบขวดหรือกล่องเล็กส่วนใหญ่มีน้ำตาลสูง 1 ขวดเล็ก = น้ำตาลประมาณ 14–20 กรัม
แถมยังมี “แลคโตส” ที่ในบางคนดูดซึมไม่ได้ดี เกิดแก๊ส-ลำไส้รั่ว ส่งผลต่อตับและไต

งานวิจัย : Vos M.B. et al. (2012). Added sugars and NAFLD: a scientific statement. American Heart Association

สรุป: น้ำตาลในนมเปรี้ยวสัมพันธ์กับความเสี่ยงไขมันพอกตับ แม้บริโภคในปริมาณที่คิดว่าปลอดภัย

สรุปสั้นๆ จากหมอโอ๊ค : เครื่องดื่มบางอย่างอาจดูเล็กน้อย แต่สะสมทุกวัน กลายเป็นตับพัง-ไตล้าแบบไม่รู้ตัว หมอไม่ได้ห้ามครับ แต่อยากชวนเพื่อนๆ ให้ “รู้ทัน” แล้วเลือกให้ตับกับไตได้พักบ้าง