ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ดร.ศิตะ มานิตกุล นักวิจัยสังกัดศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ค้นพบ ได้เผยว่า การค้นพบนี้มาจากส่วนกะโหลกและฟันที่แหล่งพระปรง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ในชั้นหินยุคครีเทเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 130 ล้านปี ภายหลังการอนุรักษ์ตัวอย่าง ทราบว่าเป็นส่วนปลายของขากรรไกรบน ค้นพบนี้ได้นำไปสู่ความร่วมมือของเครือข่ายนักบรรพชีวินวิทยาไทยและต่างชาติ ทั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล และมหาวิทยาลัยฉือเหอจือ ประเทศจีน ได้ตีพิมพ์การค้นพบเทอโรซอร์สกุลใหม่ชนิดใหม่ของโลกนี้ ซึ่งเป็นชนิดแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงในวารสาร Cretaceous Research เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

“การูแดปเทอรัส บุฟโตติ” มีชื่อสกุล “การูแดปเทอรัส” ซึ่งหมายถึง “ปีกครุฑ” และคำระบุชนิด “บุฟโตติ” เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่ ดร.เอริก บุฟโต (Eric Buffetaut) นักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้มีส่วนสำคัญในงานด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี  เทอโรซอร์ชนิดใหม่นี้เป็นเทอโรซอร์หางสั้นจำพวกเทอโรแดคทิลลอยด์ ในกลุ่มนาโธซอรีน (Gnathosaurinae) มีลักษณะพิเศษที่ปลายปากแผ่ออกคล้ายนกปากช้อน มีเบ้าฟันปูดยื่นออกมา และฟันแหลมเรียวยาวออกมาด้านนอก ทำให้พวกมันสามารถจับปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความกว้างของปีกประมาณ 2.5 เมตร

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปีค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปีค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ดร.ศิตะ มานิตกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ประเทศไทยจะมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จำนวนมากถึง 13 ชนิดใหม่ของโลกจากภาคอีสาน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศร่วมกับไดโนเสาร์ ทั้งปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานกลุ่มต่าง ๆ เช่น กิ้งก่า เต่า จระเข้ รวมถึงเทอโรซอร์  เทอโรซอร์มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่บินได้ หรือนกยักษ์โบราณ แต่แท้จริงแล้วเป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นญาติใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ กำเนิดและสูญหายไปในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน พวกมันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่วิวัฒน์ร่างกายจนสามารถบินได้ มีรูปร่างและขนาดหลากหลาย ตั้งแต่ตัวเท่านกน้อยไปจนถึงสูงใหญ่เท่ายีราฟ กลไกการบินของเทอโรซอร์คือการวิวัฒน์กระดูกให้เบา เต็มไปด้วยถุงลม ซึ่งช่วยลดน้ำหนักในการบิน อีกทั้งมีแผ่นปีกและกล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยในการกระพือและยกตัว อย่างไรก็ตาม โครงสร้างกระดูกที่บางคล้ายนกเช่นนี้ ทำให้การกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์นั้นยากขึ้นไปด้วย ซึ่งในประเทศไทยก่อนหน้านี้มีรายงานการพบเพียงฟันเดี่ยวและกระดูกรยางค์เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น

งานวิจัยครั้งนี้นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในภาคตะวันออก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีอีกหลายพื้นที่นอกภาคอีสานที่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันสันหลังได้ และยังช่วยเติมเต็มข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพยุคดึกดำบรรพ์ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปีค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

ค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปีค้นพบ พญาครุฑ สัตว์เลื้อยคลานบินได้ตัวแรกของไทย มีมา130 ล้านปี

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature

  • Beta

Beta feature