เปิดเงินเดือน นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังสู้ศึกชิงตำแหน่งดุเดือด

เปิดเงินเดือน นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังสู้ศึกชิงตำแหน่งดุเดือด


เปิดเงินเดือน นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังแข่งขันชิงตำแหน่งดุเดือด โดยวันนี้ 11 พ.ค.68 เลือกกันทั่วประเทศ 76 จังหวัด

วันนี้ 11 พ.ค.2568 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และ นายกเทศมนตรี ทั่วประเทศ 76 จังหวัด 2,469 แห่ง

โดยเป็นการเลือกตั้งทั้งสมาชิกและนายกเทศมนตรี 2,121 แห่ง และเป็นการเลือกตั้งเฉพาะสมาชิกสภาเทศบาล 348 แห่ง เนื่องจากมีการเลือกไปก่อนหน้านี้แล้ว ในกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่น ที่ไม่ใช่อยู่จนครบวาระที่ต้องเลือกในวันนี้
โดยพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ต่างทยอยออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเองกันอย่างคึกคัก เพื่อต้องการเลือกผู้นำเข้ามาบริหารถิ่นที่อยู่อาศัยให้มีความเจริญรุ่งเรือง และช่วยแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่

สำหรับอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งตามระเบียบกระทรงวมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. 2554 มีดังนี้

นายกเทศมนตรี
เงินเดือน 10,080-55,530 บาท
เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 2,100-10,000 บาท
เงินค่าตอบแทนพิเศษ 2,100-10,000 บาท
รวม 14,280-75,530 บาท

รองนายกเทศมนตรี
เงินเดือน 5,520-30,540 บาท
เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 1,575-7,500 บาท
เงินค่าตอบแทนพิเศษ 1,575-7,500 บาท
รวม 8,670-45,540 บาท

ประธานสภาเทศบาล

เงินเดือน 5,520-30,540 บาท

รองประธานสภาเทศบาล
เงินเดือน 4,530-24,990 บาท

สมาชิกสภาเทศบาล

เงินเดือน 3,520-19,440 บาท
เลขานุการนายกเทศมนตรี
เงินเดือน 5,820-19,440 บาท

ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
เงินเดือน 2,520-13,880 บาท
ทั้งนี้เงินเดือนที่ได้รับจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรายได้ของเทศบาล ตั้งแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไปจนถึงเกิน 300 ล้านบาท

โดยรายได้ของเทศบาล หมายถึง รายได้จริงของปีงบประมาณที่แล้วมา ทั้งนี้ ไม่รวมเงินกู้ เงินสะสม และเงินอุดหนุนทุกประเภท ใช้เป็นฐานในการคำนวณอัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

บทบาทหน้าที่ของ “สภาเทศบาล” มีอะไรบ้าง
1. ทำหน้าที่สะท้อนความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล เช่น รับฟังปัญหา ความต้องการ ตลอดจนข้อร้องเรียน ต่างๆ ของประชาชน แล้วนำข้อเรียกร้องเหล่านั้นเสนอต่อฝ่ายบริหารดำเนินการแก้ไข

2. ทำหน้าที่ออกเทศบัญญัติ คือ สภาเทศบาลทำหน้าที่เป็นองค์กรทางนิติบัญญัติในเทศบาล ทำหน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง และอนุมัติกฎหมายต่าง ๆ ว่าควรบังคับใช้ในเขตเทศบาลหรือไม่ หน้าที่ในประการนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543 ที่กำหนดว่า “เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมาย”

3. ทำหน้าที่ตรวจสอบ และถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เช่น ตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหารเพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแนวทางเพื่อดำเนินการแก้ไข , ตรวจสอบการทำงานโดยคณะกรรมการสามัญและคณะกรรมกาวิสามัญของสภาเทศบาลคณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล และการเสนอเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในเขตเทศบาล

ไม่มีคำอธิบาย