เรื่องราวของหญิงชาวจีนวัย 30 ปี เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยแพทย์กวางโจว หลังมีอาการไอแห้งต่อเนื่องไม่หยุด แพทย์ทำ CT Scan และพบการติดเชื้อในปอดทั้งสองข้าง พร้อมโพรงอากาศหลายจุด เธอจึงถูกส่งต่อไปยังแผนกเวชศาสตร์วิกฤตและระบบทางเดินหายใจทันที

พบ “ใบหน้าผี” ในฟิล์ม CT สัญญาณโรคปอดติดเชื้อราคริปโตค็อกคัส นพ.หลิว จือเถา แพทย์ผู้ดูแล สังเกตเห็นภาพในฟิล์ม CT ที่ดูคล้าย “ใบหน้าผี” (Ghost Face Sign) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคปอดติดเชื้อราคริปโตค็อกคัส
เขาจึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็น “ปอดอักเสบจากเชื้อราคริปโตค็อกคัสชนิดใหม่” ซึ่งยังไม่ค่อยพบในผู้ป่วยมาก่อน
แม้ผู้ป่วยจะบอกว่าไม่มีสัตว์เลี้ยงและไม่ได้สัมผัสนกโดยตรง แต่แพทย์ยังคงส่งตรวจแอนติเจนของเชื้อในเลือด รวมถึงส่องกล้องหลอดลมแบบไม่เจ็บตัว และเก็บน้ำล้างปอดมาตรวจด้วยเทคนิค tNGS (targeted Next-Generation Sequencing)
วันถัดมา ผลตรวจยืนยันว่ามีแอนติเจนเชื้อคริปโตค็อกคัสทั้งในเลือดและน้ำล้างปอด และยังพบว่าเป็น เชื้อราคริปโตค็อกคัสสายพันธุ์ใหม่
หลังรู้ผลการวินิจฉัย หญิงรายนี้จึงนึกออกว่าเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เพื่อนได้นำนกพิราบ 2 ตัวมาให้ เธอเลี้ยงไว้ในบ้าน 4 วัน ก่อนจะเชือดมาทำซุปกิน
แพทย์จึงเชื่อว่า การสัมผัสนกและกระบวนการเตรียมอาหารน่าจะเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ โชคดีที่ได้รับการรักษาทันเวลา ทำให้เธอหายดีและสามารถกลับบ้านได้
แหล่งแฝงตัวของ “คริปโตค็อกคัส” แพทย์อธิบายว่า เชื้อราคริปโตค็อกคัสสายพันธุ์ใหม่นี้ พบได้ทั่วไปใน มูลนกพิราบ ดิน และพืชผุพัง เมื่อแห้ง จะกลายเป็นฝุ่นละอองลอยในอากาศ ซึ่งหากสูดดมเข้าไป อาจติดเชื้อเข้าสู่ปอด

ผู้เลี้ยงนกพิราบ
คนที่คลุกคลีกับนกหรือดิน เช่น คนทำสวน
ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น
ผู้ป่วย HIV
ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ
ผู้ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง
โรคนี้อาจดูเหมือนไข้หวัด แต่อาจถึงตายได้หากปล่อยไว้ ในระยะแรก โรคนี้อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเบา ๆ เช่น ไอ มีไข้ต่ำ เจ็บหน้าอก แต่หากเป็นรุนแรง อาจเกิด ไข้สูง หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด
ในบางราย (ประมาณ 10%) เชื้ออาจลุกลามไปยังสมอง ทำให้เกิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-80% หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา