“ศาลรัฐธรรมนูญ”วินิจฉัย สั่งยุบพรรคก้าวไกล

ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล จากกรณีพรรคก้าวไกล หาเสียง แก้มาตรา 112 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ

\"ศาลรัฐธรรมนูญ\"วินิจฉัย สั่งยุบพรรคก้าวไกล

ซึ่ง กระบวนการศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับแต่ที่ศาลรับคำร้อง 3 เม.ย.67ที่ผ่านมา โดยศาลให้คู่ความส่งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา แต่ไม่ได้เปิดการไต่สวน เนื่องจากคดีเป็นข้อกฎหมาย และศาลระบุว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงกำหนดวันอ่านคำวินิจฉัยวันนี้ 7 ส.ค.2567

\"ศาลรัฐธรรมนูญ\"วินิจฉัย สั่งยุบพรรคก้าวไกล

ล่าสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย คดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล เนื่องจากมีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคผู้ถูกร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคก้าวไกล ฐานมีพฤติการณ์อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กรรมการบริหารพรรคก้าวไกลตามคำร้อง 11 คน ประกอบด้วยบุคคลที่เป็น สส.บัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล 5 คน คือ

  • พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
  • ชัยธวัช ตุลาธน
  • สุเทพ อู่อ้น
  • อภิชาติ ศิริสุนทร
  • เบญจา แสงจันทร์
  • ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง (ปัจจุบันเป็น สส. พรรคเป็นธรรม )

สำหรับอีก 5 รายไม่ได้เป็น สส.

  • อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์
  • ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
  • ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล
  • สมชาย ฝั่งละออ
  • อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
\"ศาลรัฐธรรมนูญ\"วินิจฉัย สั่งยุบพรรคก้าวไกล

ทั้งหมดจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง-ห้ามไม่ให้ไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วม ในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ช่วงเวลา 10 ปี นับแต่มีคำสั่งยุบพรรค