เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

อัปเดตเงินเยียวยาน้ำท่วม เตรียมจ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท สำหรับบ้านที่ไม่มีอาสาเข้าไปช่วยล้าง เงินส่วนนี้แยกกับเงินเยียวยา 9 พันบาท ต่อครัวเรือน

คืบหน้าเงินเยียวยาน้ำท่วม 8 ต.ค.67 กระทรวงมหาดไทย เตรียม จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในส่วนบ้านที่ภาครัฐไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เผยว่าหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอขออนุมัติงบค่าล้างโคลนในพื้นที่ประสบอุทกภัย หลังคาเรือนละ 10,000 บาท เพื่อให้ ครม. รับทราบ

ซึ่ง ครม. ไม่ต้องอนุมัติ เพราะเป็นเรื่องที่กรมป้องกันบรรเทาและสาธารณภัย (ปภ.) ขอความเห็นชอบต่อกรมบัญชีกลาง ซึ่งผ่านความเห็นชอบแล้ว

หลังจากนี้ทาง ปภ.จะไปสำรวจ และจ่ายเงินค่าล้างโคลนในพื้นที่ประสบอุทกภัยซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเงินจำนวนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเงินเยียวยา 9,000 บาทต่อครัวเรือน

เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

สำหรับการจ่ายค่าล้างโคลน 10000 บาท   จะจ่ายให้กับบ้านที่รัฐบาลไม่เข้าไปช่วย ซึ่งหากมีเจ้าที่หรืออาสาสมัครเข้าไปช่วยจะไม่ได้รับเงิน ฉะนั้นจึงต้องทำการสำรวจในครัวเรือนที่เจ้าของบ้านต้องล้างเอง หรือจ้างคนมาล้าง โดยจะเริ่มจ่ายเร็วที่สุดในทันที

ด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ส่งข้อมูลผู้ประสบภัยให้ธนาคารออมสินแล้ว 18,897 ครัวเรือน และธนาคารออมสินโอนเงินเข้าบัญชีผู้ประสบภัยสำเร็จ (8 ต.ค. 67) 9,756 ครัวเรือน รวมเป็นจำนวนเงินกว่า 48,832,000 บาท

เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

และครั้งที่ 6 ของจังหวัดเชียงราย จะโอนอีก 7,919 ครัวเรือน ในวันที่ 9 ต.ค. 67 และจะเร่งดำเนินการตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอัตราเท่ากันที่ 9,000 บาท สำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้ว ปภ. พร้อมโอนเพิ่มอย่างเร็วที่สุด ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบบัญชีผู้ประสบภัยในขั้นสุดท้าย

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับจังหวัดที่ประสบภัยในการเร่งดำเนินการให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด

เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 67 เวลา 16.30 น. มีผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเข้ามาเพิ่มขึ้นใน 54 จังหวัด รวม 137,562 ครัวเรือน และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้นำส่งข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบและยืนยันจากจังหวัดให้ธนาคารออมสินแล้วจำนวน 6 ครั้ง รวม 18,897 ครัวเรือน เป็นเงิน 94,615,000 บาท และธนาคารออมสินได้โอนเงินเข้าบัญชีผู้ประสบภัยสำเร็จแล้วจำนวน 5 ครั้ง (เมื่อวันที่ 27, 30 ก.ย. 67 และวันที่ 2, 4 และ 8 ต.ค. 67) รวม 9,756 ครัวเรือน เป็นเงิน 48,832,000 บาท โดยจะทำการโอนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งที่ 6 ของจังหวัดเชียงราย 7,919 ครัวเรือน ภายในวันพรุ่งนี้ (9 ต.ค. 67) เป็นเงิน 39,644,000 บาท

โดยในวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จากเดิมที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ตามระยะเวลาน้ำท่วมขังในพื้นที่อยู่อาศัยและให้อัตราการช่วยเหลืออยู่ที่ 5,000 บาท 7,000 บาท และ 9,000 บาท ตามลำดับ โดยจะปรับใหม่เป็นทั้งกรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และกรณีน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน ให้ได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราเท่ากันที่ 9,000 บาท

ซึ่งเป็นอัตราที่ผู้ประสบภัยจะได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ความปกติโดยเร็ว และเป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือด้วยหลักเกณฑ์สูงสุด โดยปภ. จะเริ่มนำส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสิน ตั้งแต่ครั้งที่ 7 เป็นต้นไป

เปิดเกณฑ์จ่ายค่าล้างโคลนบ้านละ 10,000 บาท คนละส่วนกับเงินเยียวยา 9,000

“สำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมไปแล้วครัวเรือนละ 5,000 บาท หรือ 7,000 บาท ตั้งแต่ที่ธนาคารออนสินโอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 จนถึงครั้งที่ 6 ที่ออมสินกำลังจะโอนในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะดำเนินการโอนเงินช่วยเหลือเพิ่ม 2,000 บาท และ 4,000 บาท แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 9,000 บาท

ซึ่ง ปภ. จะส่งข้อมูลให้ธนาคารออมสินดำเนินการโอนเงินได้ทันที หลังจากตรวจสอบบัญชีของผู้ประสบภัยในขั้นสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว เพื่อผู้ประสบภัยจะได้รับยอดเงินช่วยเหลือที่ถูกต้อง พร้อมยืนยันจะส่งข้อมูลให้ออมสินโอนให้เร็วที่สุด”